ชื่อ:
นามสกุล:
นามแฝง:
โรคที่เชี่ยวชาญ
ประวัติหมอโอวาท ร่วมสนิท หมอโอวาท ร่วมสนิท หรือ หมอเลี่ยม อายุ 75 ปี อยู่บ้านเลขที่ 128/2 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มเรียนยาหม้อที่วัดศาลามีชัย เมื่อ พ.ศ.2530 พอเรียนจบหลังจากนั้นก็ได้หันมาสืบทอดในด้านของสมุนไพรในประเภทต่างๆและจากการรักษามาก็ประมาณ 28 ปีแล้วและได้รับช่วงการสืบทอดมาเป็นช่วงที่ 5 ช่วงที่ 1 ทวดทองคำ ช่วงที่ 2 ทวดทองขวัญ ช่วงที่ 3 ปู่ด้วง ช่วงที่ 4 พ่อหนู ช่วงที่ 5 หมอเลี่ยม จากการรับช่วงสืบทอดมานั้นก็ได้รักษาด้วยยาหม้อมาแล้วหลายปี จนกระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังมีผู้คนนิยมมารับการรักษาทั้งคนในท้องถิ่นและจากต่างจังหวัด |
![]() |
การใช้สมุนไพรของหมอพื้นบ้านถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ล้ำค่าของสังคมไทยที่เกิดจากปรัชญาของหมอพื้นบ้านที่สามารถจำแนกแยกแยะฤทธิ์และสรรพคุณของสมุนไพรจากธรรมชาติเพื่อใช้ในการเยียวยารักษาความเจ็บป่วย การรักษาโดยระบบการแพทย์พื้นบ้านจึงเป็นระบบการรักษาโรคแบบประสบการณ์ของชุมชม ที่ได้รับการสั่งสมถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ มีความหลากหลายแตกต่างกันไปแต่ละสังคมวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ ได้มีการพัฒนาการใช้สมุนไพรในระบบการแพทย์พื้นบ้านมาอย่างต่อเนื่อง โดยถือว่าสมุนไพรเป็นรูปแบบการรักษาหลักของระบบการแพทย์พื้นบ้าน ดังนั้นสมุนไพรยังคงมีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนมาโดยตลอด ชุมชนไทยจึงยังผูกพันกับหมอพื้นบ้านและยาสมุนไพรในการดูแลรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาไทยที่ใช้ยาหม้อในการรักษาโรคยังเป็นทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคในการตัดสินใจ ที่ผ่านการสั่งสมประสบการณ์กระบวนการสืบทอดพัฒนาปรับปรุงและเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีจนสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาวิถีของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยด้วยในการรักษาโรคยาหม้อซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่มีการคิดค้นสูตรของการรักษาถือเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่มีรูปแบบการปรุงยาตามวิถีของแพทย์แผนไทยหรือแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งรูปแบบของยาจะเป็นลักษณะของยาต้มที่ใช้ส่วนต่างๆของสมุนไพรเป็น ส่วนประกอบโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ตัวยาจึงมีทั้งตัวยาที่ออกฤทธิ์เพื่อครอบคลุม อาการทั้งหมด ทั้งอาการหลัก อาการรองและอาการข้างเคียงต่างๆ แล้วแต่โรคที่ต้องการจะรักษาให้ ตรงกับอาการ นอกจากนี้ยาหม้อยังเป็นตัวยาที่ดูดซึมได้ง่าย ออกฤทธิ์เร็ว มีวิธีการเตรียมที่ง่ายและสะดวก เพียงแต่การนำสมุนไพรที่มีอยู่นั้นมาใช้เป็นวัตถุดิบในส่วนผสมของตัวยาของโรค นั้นๆ ปัจจุบันยาหม้อดูซึ่งห่างหายไปจากวงการแพทย์ทางเลือก กำลัง ได้รับความนิยมอีกครั้งจึงทำให้ผู้ศึกษาสนใจและต้องการจะทราบถึงบทบาทและความสำคัญของยา หม้อในอดีต รวมถึงตัวยาสมุนไพรที่หมอพื้นบ้านนำมาใช้ในการรักษาโรคทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้จาก การศึกษาในครั้งนี้ไปใช้ ประโยชน์ทั้งในการส่งเสริม เผยแพร่ เพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการรักษาโรค ต่างๆ ด้วยยาหม้อต่อไป |
สมุนไพรที่ใช้รักษาของหมอโอวาท ร่วมสนิท 1.ใบส้มป่อย โอวาท ร่วมสนิท ได้กล่าวถึงสรรพคุณทางยาไว้ว่าจะมีรสเปรี้ยว ฝาดร้อน สรรพคุณช่วยในเส้นเอ็น ขับลม 2. ดินประสิว โอวาท ร่วมสนิท ได้กล่าวถึงสรรพคุณทางยาไว้ว่าจะมีรสฝาดเย็น สรรพคุณช่วยขับลมตามเส้นเอ็น เท้า มือ เล็บ 3. ยาดำ โอวาท ร่วมสนิท ได้กล่าวถึงสรรพคุณทางยาไว้ว่าจะมีรสขมเหม็นเบื่อ สรรพคุณช่วยในการระบายท้อง ร้อนใน 4. ดีเกลือ โอวาท ร่วมสนิท ได้กล่าวถึงสรรพคุณทางยาไว้ว่าจะมีรสเค็มเย็น สรรพคุณช่วยให้เนื้อสมบรูณ์ ถ่ายท้องง่าย 5. ใบมะกา โอวาท ร่วมสนิท ได้กล่าวถึงสรรพคุณทางยาไว้ว่าจะมีรสขม สรรพคุณช่วยในการระบายท้อง ยาลดไข้ 6. ใบมะขาม โอวาท ร่วมสนิท ได้กล่าวถึงสรรพคุณทางยาไว้ว่าจะมีรสเปรี้ยวฝาด สรรพคุณช่วยในการระบายท้อง ยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในลำไส้ 7. กำมะถัน โอวาท ร่วมสนิท ได้กล่าวถึงสรรพคุณทางยาไว้ว่าจะมีรสเบื่อเมา ช่วยในเส้นเอ็น และรักษาโรคต่างๆ ภายใน 8. สารส้ม โอวาท ร่วมสนิท ได้กล่าวถึงสรรพคุณทางยาไว้ว่าจะมีรสเปรี้ยวฝาด สรรพคุณช่วยในการถ่ายคล่องและระบายท้อง 9. ข่าตาแดง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยในเวลาท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาระบาย รักษาเกลื้อน แก้อาการฟกช้ำบวม แก้พิษ ขับโลหิต 10. การบูร โอวาท ร่วมสนิท ได้กล่าวถึงสรรพคุณทางยาไว้ว่าจะมีรสร้อน สรรพคุณช่วยแก้เข็ดเมื่อย 11. ผลมะกรูด มีรสเปรี้ยว สรรพคุณช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้น กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ ยาบำรุงหัวใจ ถอนพิษสำสำแดง แก้ลมจุกเสียด
โรคภัยไข้เจ็บที่ต้องรักษาด้วยยาหม้อ การรักษาโรคด้วยยาหม้อนั้นมีอยู่หลากหลาย เพราะเชื่อกันว่าการรักษาโรคด้วยสมุนไพรที่นำมาทำเป็นยาต้มสามารถช่วยให้หายจากอาการป่วยได้ ด้วยเหตุนี้การรักษาโรคโดยใช้ยาหม้อจึงมีให้เห็นอยู่ในชุมชนแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสามารถสรุปโรคที่รักษาด้วยยาหม้อตามพื้นที่ที่ศึกษา ดังนี้ 1. ประเภทโรคซาง ได้แก่ ซางตัวร้อน ซางท้องขึ้น ยาระบายถอนพิษซาง ซางธาตุพิการ ไข้สำหรับเด็กเป็นซาง เป็นต้น 2. ประเภทโรคทั่วไป ได้แก่ ฝีคำร้อย ธาตุพิการ เบื่ออาหาร นิ่วเป็นหนองและตาเดือน ปวดเข่าอย่างรุนเร็ว ปวดพิษและสารพิษ โรคเลือดออกทางจมูก ลดความอ้วน หญิงตกเลือด โรคมะเร็งในมดลูก เส้นท้องตึงเป็นเถาคาน ปวดหลังปวดเอว โรคซางชัก เลือดเป็นพิษ ยาบำรุงเลือดและระดูของสตรี โรคระดูขาว โรคโลหิตระดูขัด โรคป้าง แก้พิษงู โรคมะเร็ง โรคเหน็บชา อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
|
![]() |
จากการศึกษาโรคภัยไข้เจ็บที่ต้องรักษาด้วยยาหม้อยังทำให้เห็นว่าการรักษาของหมอพื้นบ้าน ยังมีผู้ให้ความสนใจอยู่มากไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคอะไรมาก็ตาม ส่วนมากที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าผู้มารับบริการเหล่านี้จะรักษากับหมอปัจจุบันมาแล้ว แต่ก็ไม่หายจึงหันมารักษากับหมอพื้นบ้านและเมื่อมาต้มยาแล้วกลับพบได้ว่าเมื่อรับประทานยาต้มไปได้ประมาณ 1 เดือนก็ทำให้เห็นผลและหายป่วยได้รวดเร็ว ในการรักษาโรคด้วยยาหม้อ มีผู้ที่มารับการรักษาส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยกลางคนหรือวัยผู้ใหญ่ เป็นส่วนมาก อาจเนื่องจากเป็นวัยที่ทำงานในอาชีพเกษตรกร เป็นงานที่ต้องใช้แรงกล้ามเนื้อในการ ทำงาน ซึ่งมักจะทำให้กล้ามเนื้อนิ้วมือ เท้า แกร่งและเหน็บชาตามร่างกาย ผู้คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้ จึงเลือกที่จะมารักษากับหมอพื้นบ้าน เพราะเมื่อมารับการรักษาแล้วก็ทำให้หายขาดจนเป็นปกติ |
![]() |
ความเชื่อในการรักษาโรคด้วยยาหม้อ หมอโอวาท ร่วมสนิท ให้ทัศนะเกี่ยวกับความเชื่อในการใช้ยาหม้อรักษาโรค ตามคติสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยเชื่อว่าอาการป่วยเกิดจากธรรมชาติสิ่งเหนือธรรมชาติ อำนาจศักดิ์สิทธิ์ และการประพฤติผิดตามขนบธรรมเนียมประเพณี รวมถึงการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพที่ได้สืบทอดมา ตั้งแต่เริ่มแรกและสนใจที่จะรักษาอาการป่วยด้วยยาหม้อ ทั้งมีการดูวันการต้มยาด้วย
สรุป การรักษาโรคด้วยยาหม้อหรือยาต้ม หมอพื้นบ้านได้นำสมุนไพรต่างชนิดมาใช้ในการรักษา ทำให้อาการของโรคสามารถหายเป็นปกติได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถ ประสบการณ์และความถนัดในการรักษาของหมอแต่ละคนที่ถนัดในการใช้สมุนไพรแต่ละชนิด ปัจจุบันการรักษาด้วยยาหม้อมีคนที่ให้ความสนใจอยู่มากไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคอะไรก็ตาม แต่ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้มารับบริการเหล่านี้ส่วนมากจะรักษากับหมอปัจจุบันมาแล้ว แต่ไม่หายจึงหันมารักษากับหมอพื้นบ้านและเมื่อต้มยาแล้วกลับพบได้ว่าเมื่อรับประทานยาหม้อแล้วทำให้เห็นผลได้รวดเร็วและหายป่วยได้ |
|